หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง กับการจากไปของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2551

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง กับการจากไปของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2551

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง กับการจากไปของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2551

ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.2551 ปรมาจารย์ด้านภาพพิมพ์ และอาจารย์สอนศิลปะผู้มีความเป็นเลิศทั้งในด้าน “ศาสตร์” และ “ศิลป์”
ผู้เป็นต้นแบบในการค้นคว้า เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาอย่างเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาการแห่งวงการศิลปะ โดยสะท้อนเอกลักษณ์อันโดดเด่นผ่านผลงานอันทรงคุณค่าไว้อย่างมากมาย

ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูล #เล่าเรื่องร่วมสมัย
จาก เฟซบุ๊ก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#ศิลปินแห่งชาติ #สาขาทัศนศิลป์
#Rcacbkk #Rcac84 #84rcac #Ratchadamnoencontemporaryartcenter
#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

#เล่าเรื่องร่วมสมัย
ขอแสดงความอาลัย ต่อการจากไปของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)พ.ศ.2551 ปรมาจารย์ด้านภาพพิมพ์ และอาจารย์สอนศิลปะผู้มีความเป็นเลิศทั้งในด้าน “ศาสตร์” และ “ศิลป์”
ผู้เป็นต้นแบบในการค้นคว้า เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาอย่างเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาการแห่งวงการศิลปะ โดยสะท้อนเอกลักษณ์อันโดดเด่นผ่านผลงานอันทรงคุณค่าไว้อย่างมากมาย
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้รับเกียรติในการรวบรวมผลงานสะสมของท่านอาจารย์ ไว้เพื่อเป็นสมบัติของประเทศชาติ และคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัย จำนวน 3 ชิ้น ซึ่งเปี่ยมไปด้วยคุณค่าในงานศิลปร่วมสมัยดังต่อไปนี้
1.ผลงาน “พื้นที่ว่าง” สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค ภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะร่องลึก หมายเลข ๙ ของ อาจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก แสดงพื้นที่ลวงตาด้วยการลวงลึก เข้าไปในที่ว่างดำกับลวงให้นูนโค้งอยู่ด้านหน้า โดยใช้ทัศนธาตุศิลปะในการสร้างมุมมองเสมือนผนังเจาะหน้าต่างและผ้าม่าน ที่มีลักษณะผิวด่างดวงราวกับลายผ้ารูดมาไว้ทางขวา และเพื่อไม่ให้เกิดความแปลกแยกเกินไปจากพื้นที่ส่วนอื่นที่มีริ้วเส้น ประกอบร่วม ศิลปินได้สร้างให้ส่วนด้านข้ายนอกหน้าต่างหลังม่านขาวที่รวบไว้มีรูปร่างคล้ายชั้นวางและมีต้นไม้เล็ก ๆวางอยู่ ลักษณะของใบจะสอดรับกับลักษณะผิวของม่านด้านขวาในชั้นเชิงของการจัดวางให้สมดุลแบบสองข้างไม่เท่ากัน ทุกพื้นที่ของส่วนซ้าย ขวา บน และล่าง ล้วนเป็นความงามของความสมดุลที่ไม่สมมาตร และยังสร้างความพิเศษ ของพื้นที่ว่างด้านขวา หักมุมเฉียงลงยกความนูนลวงตาขึ้นด้วยเส้นเฉียงมุมล่าง แล้วปิดกั้นขอบเขตพื้นที่รูปทรง ด้วยแนวดิ่งของเส้นส้ม ให้ผลงานจบรวมเป็นหนึ่งหน่วยเดียวกัน
2. “ผนัง เอฟ” ผลงานภาพพิมพ์โลหะร่องลึกอีกชิ้นหนึ่งของอิทธิพล ใช้การตัดมุมมองจากผนังด้วยการลดทอน จนเกิดความเป็นนามธรรมแสดงตัว ความพิเศษของผลงานปรากฎชัดตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอกเสมือน shaped canvasที่ไม่ครอบครองอยู่ในขอบเขตของสี่เหลี่ยม สร้างความพิเศษต่อประสบการณ์ทางสายตาให้เดินทางล้อไปกับแนวเรียบคมกริบ รอยแหว่งหักมุมแนวเฉียงชัน มุมคมและเชิงฐานอันเว้าแหว่งตลอดแนว ลักษณะผิวโดยรวมเป็นร่องรอยที่แสดงถึงการผ่านมาหลายฤดูกาลต่างฝังอยู่บนระนาบแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งประกอบยึดติดกันเป็นผืนผนัง มีรูปสี่เหลี่ยมเล็กสี่แผ่น ผนึกอยู่ตรงเชิงล่างเป็นอีกสิ่งหนึ่งของจุดเรียกสายตา ทั้งหมดทั้งมวลถูกสร้างให้เปลี่ยนสภาพใหม่มาแสดงคุณค่าความงามบรรจุไว้ใน ผนัง เอฟ
3.Red Bands ผลงาน สีอะคริสิกบนผ้าใบ จิตรกรรมนามธรรม โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะด้วยสีแดง น้ำเงิน ดำ ขาว และลักษณะผิว ศิลปินจัดวางความต่างตรงข้ามทั้งหมดให้มาทำงานร่วม ด้วยการแบ่งกลางภาพออกเป็นส่วนช้ายและขวา ส่วนช้ายเป็นแถบน้ำเงินวางขวางอยู่บนแถบแดง ซึ่งมีแถบคล้ำตั้งเรียงเต็มพื้นที่ ในขณะที่ส่วนขวาของภาพเป็นพื้นที่ดำ ประด้วยจุดขาวและเส้นน้ำเงินเล็กบางต่างขนาด วิ่งตัดขวางทิ้งระยะเท่ากันอย่างเป็นระเบียบในการทำหน้าที่เป็นลักษณะผิวพื้นดำไปในตัว ลักษณะผิวที่สร้างขึ้นในภาพมีความพิเศษ มีเสน่ห์ ทั้งจุดสี่เหลี่ยมที่ผุดพรายขึ้นมาเรียงบน แถบสีน้ำเงิน และเส้นริ้วรอยคราบคล้ำกับแนวจุดบนแถบแดงสด เป็นการประชันความต่างตรงข้ามอย่างไม่ยอมจำนน ต่อกันในแต่ละพื้นที่ แม้จะเป็นการจัดระเบียบให้ความสำคัญกับทุกทัศนธาตุทางศิลปะกับผลงานนี้ แต่ทว่าศิลปินสร้าง ความสว่างแทรกอยู่ในแดง แถบแดงจึงแสดงตัวได้เต็มที่กว่าแถบน้ำเงิน และพื้นที่ดำที่มีความหนักทึบกว่า แม้ว่าจะมีปริมาณพื้นที่มากเป็นใหญ่กว่าก็ตาม วิถีการจัดระเบียบในผลงานนี้ แสดงความละเมียด ความนิ่งที่เปล่งสู่บุคลิกภาพ แห่งความงามอันสุขุมปรากฏอยู่เต็มพื้นที่
“Ars longa vita brevis” ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น ดังคำกล่าวของท่านอาจารย์ ศิลป พีระศรี ศิลปินแม้ชีพดับสูญ แต่ทว่าคุณค่าความดีงามและผลงานศิลปะยังคงสะท้อนประทับเป็นแบบอย่างอันดีงามแก่สังคมและอนุชนรุ่นหลังต่อไป


ข่าวสารอื่นๆ

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031