Facebook Logo

ประมวลภาพ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ขยายเครือข่ายความร่วมมือ 4 หอศิลป์ โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่ 4 ภูมิภาคใน ปี 2566

ประมวลภาพ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ขยายเครือข่ายความร่วมมือ 4 หอศิลป์ โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่ 4 ภูมิภาคใน ปี 2566

#Rcac #ประมวลภาพ #ภาพบรรยากาศ

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น.

#ภาพบรรยากาศ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ขยายเครือข่ายความร่วมมือ 4 หอศิลป์ โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่ 4 ภูมิภาคในปี 2566

ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2566

ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ลิปิกร มาแก้ว ผู้อำนวยการเฮินศิลป์ใจ๋ยอง จังหวัดเชียงใหม่

นายอุกฤษฏ์ จอมยิ้ม ผู้ร่วมก่อตั้งฆัลเอ็กซ์ (KULTX Collaborative Space) จังหวัดขอนแก่น

ดร.ปรัชญ์ พิมานแมน ผู้อำนวยการเดอลาแป อาร์ท สเปซ จังหวัดนราธิวาส

และนายปรีชา รักซ้อน ผู้ก่อตั้งแกลแลอรี่ 1984+1 จังหวัดสุพรรณบุรี

โดยมีนายบพิตร วิทยาโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร

นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

นายธนพล พรมสุวงษ์ เลขานุการกรมการศาสนา

คณะผู้บริหารสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

พร้อมด้วยนายยุทธนา บุศเนตร วัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด

นายโกมาต แป้นเกิด วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่

นางสาวนิษฐกานต์

คุณวัชระกิจ วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี

จ่าเอกนาวี แสงฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น

และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

ทั้งนี้ภายในงานมีการจัดเสวนา หัวข้อ “ทิศทางของหอศิลป์ พื้นที่ศิลปะ และแหล่งเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยในทศวรรษ 2020s” โดยมี

ครูนาย มานพ มีจำรัส ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2548 ผู้ก่อตั้ง สวนศิลป์บ้านดินจังหวัดราชบุรี

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมภ์ ประธานมูลนิธิ มดชนะภัย

รศ. ลิปิกร มาแก้ว อำนวยการเฮินศิลป์ใจ๋ยอง

นายอุกฤษฏ์ จอมยิ้ม ผู้ร่วมก่อตั้งฆัลเอ็กซ์ (KULTX Collaborative Space) จังหวัดขอนแก่น

ดร.ปรัชญ์ พิมานแมน ผู้อำนวยการเดอลาแป อาร์ท สเปซ จังหวัดนราธิวาส

และนายปรีชา รักซ้อน ผู้ก่อตั้งแกลแลอรี่ 1984+1 จังหวัดสุพรรณบุรี

ร่วมการเสวนา ณ ห้องออดิทอเรียม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เพื่อการบูรณาการความร่วมมือ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการพัฒนาคุณภาพ ศักยภาพ และมาตรฐาน ของหอศิลป์และแหล่งเรียนในส่วนภูมิภาค ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติในอนาคต

ข้อมูลประกอบ เกี่ยวกับหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาหอศิลป์ร่วมสมัยสู่ภูมิภาค ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้

1. เฮินศิลปัใจยอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยรองศาสตราจารย์ลิปีกร มาแก้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลปั คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนาเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลงานศิลปะของศิลปินไทย และศิลปินนานาชาติ ส่งเสริ่มนักศึกษาศิลปะให้มีพื้นที่แสดงผลงาน และเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา รูปแบบอาคารและสถาปัตยกรรมของเฮินศิลป์ใจยองได้รับแรงบันดาลใจจากคติจักรวาลล้านนาและยุ้งข้าวแบบล้านนา สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ชื่อของสถานที่ยังมีความหมายที่เป็นเอกลักษณ์ โดย ‘เฮิน’ หรือ ‘เฮือน หมายถึง บ้าน และ ใจยอง หมายถึง จิตใจของคนไทยอง ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทลื้อที่อพยพมาจากเมือง ยอง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา (พม่า ) มาตั้งถิ่นฐานบริเวณตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจัดแสดงนิทรรศการศิลปะแล้ว เฮนศิลป์ใจยองยังจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรีและศิลปะ การสัมมนา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิลปินนานาชาติ

2. ฆัลเอ็กซ์ (KULTX Collaborative Space) เป็นพื้นที่ศิลปะในตัวเมือง ขอนแก่น ก่อตั้งโดยมนพร รอบรู้ ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวขอนแก่น และอุกฤษฏ์ จอมยิ้ม อาจารย์ประจำสาขาศิลปะภาพถ่าย วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีวัตถประสงค์เพื่อเติมเต็มช่องว่างของพื้นที่ศิลปะที่ขาดหายไปจากเมืองขอนแก่น เพื่อเฟ้นหาศิลปีนหน้าใหม่ เพื่อสร้างเครือข่าย และจุดกระแสศิลปะให้ติดและคงอยู่ได้ในชุมชนอย่างแท้จริง ฆัลเอ็กซ์จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดเสวนา การฉายภาพยนตร์ การรวมกลุ่มทำอาหารแสดงดนตรี รวมถึงการจัดเทศกาลศิลปะ “แก่น เก๋า เก๋า”

3. แกลเลอรี 1984+ 1 จังหวัดสุพรรณบุรีก่อตั้งขึ้นโดยศิลปิน ปรีชา รักซ้อน เมื่อ พ.ศ. 2563 บนพื้นที่กว่า 4,300 ตารางเมตรของโกดั่งโรงสีข้าวบูรณะกิจ นอกจากจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ พื้นที่แห่งนี้ยังเปิดกว้างสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปะระหว่างศิลปิน นักศึกษา นักวิชาการ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลักในการเชื่อมโยงศิลปะสู่ชุมชน

4. เดอลาแป อาร์ท สเปซ นราธิวาส (De’ Lapae Art Space Narathiwat) เป็นพื้นที่ศิลปะในจังหวัดนราธิวาสเปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2559 ภายใต้การจัดวางโครงสร้างและดำเนินงานโดย ดร. ปรัชญ์ พิมานแมน ศิลปินและอาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ประกอบด้วยแกลเลอรีจัดแสดงผลงานศิลป ะทุกประเภท เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะที่ รวบรวมผู้คนเข้าไว้ด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อชุมชนอันสะท้อนถึงอัลักษณ์ของพื้นที่ชายแดนใต้ ที่ผ่านมา เดอลาแป อาร์ท สเปซได้รวมกลุ่ม และสนับสนุนศิลปินในการจัดแสดงผลงานในระดับนานาชาติเช่น Bangkok Art Biennale, Jogja Biennale และ Singapore Biennale รวมทั้งได้จัดโครงการศิลปินในพำนักสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองด้านศิลปะทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

ขอขอบคุณ ภาพบางส่วนจาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#Rcacbkk#rcac84#84rcac#ratchadamnoencontemporaryartcenter

#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน


ประมวลภาพ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ขยายเครือข่ายความร่วมมือ 4 หอศิลป์ โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่ 4 ภูมิภาคในปี 2566



กิจกรรมอื่นๆ