ประมวลภาพ การเสวนา และการแสดง Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

ประมวลภาพ การเสวนา และการแสดง Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

#Rcac #กิจกรรม

ในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 น.

ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน


วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 น.

ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มอบหมายให้นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์หอศิลป์ เป็นผู้แทนเข้ารับชมการแสดง Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ โดยศิลปิน วรรณศักดิ์ ศิริหล้า (Wannasak Sirilar) ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563 ที่จัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

ซึ่งการแสดงในรอบดังกล่าว ได้มีกิจกรรมการเสวนา โดยได้รับเกียรติจาก ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ นักวิจารณ์วรรณกรรม, ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี รองอธิการบดีฯ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ดร.ปวริส มินา รองคณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ ผู้กำกับการแสดง Chini And Turandot อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ

ทั้งนี้การแสดง Chini And Turandot จะเหลือการแสดงที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน อีกเพียง 2 รอบ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 เวลารอบ 14.00 น. และ 17.00 น. และสามารถรับชมการแสดงครั้งต่อไปได้ที่โรงละครทรงพล มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) ในวันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2565


การแสดง Chini And Turandot จัดโดยนายวรรณศักดิ์ ศิริหล้า ร่วมกับ ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ คณะทำงานตามรอยกาลิเลโอคินี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แสดงโดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563

Turandot โอเปร่าเรื่องสุดท้ายของ Giacomo Puccini (จิอาโคโม ปุชชินี คีตกวีอุปรากรคนสำคัญชาวอิตาลี ของคริสต์ศตวรรษที่ 19) จะถูกเล่าคู่ขนานไปกับการเดินตามเส้นทางศิลปะที่หลากหลายของ Galileo Chini (กาลิเลโอ คินี มัณฑนากร นักออกแบบ จิตรกร และประติมากรชาวอิตาลี) ศิลปินผู้สร้างสรรค์ฉากโอเปร่าที่ได้แรงบันดาลใจจากสยาม สู่การแสดงเดี่ยวที่เกิดจากการผสมผสาน วรรณศิลป์ ศิลปะ ศิลปะการแสดง ดนตรี การออกแบบ สื่อผสม บนพื้นฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการวิจัย

และจัดแสดงที่โรงละครทรงพล มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) วันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2565 รอบ 14.00 น.

แสดงโดย

วรรณศักดิ์ ศิริหล้า Wannasak Sirilar ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563

บทการแสดงโดย

ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์

วรรณศักดิ์ ศิริหล้า

คณะทำงานตามรอยกาลิเลโอคินี

กำกับการแสดงโดย

ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์

วรรณศักดิ์ ศิริหล้า

ประเภท การแสดงเดี่ยว

เรื่องย่อ

เจ้าหญิงทูรันโดต์ผู้เย็นชา การจะอภิเษกกับเจ้าหญิงต้องถูกทดสอบโดยตอบปริศนา 3 ข้อ หากตอบข้อใดผิดชายผู้นั้นจะต้องถูกบั่นศีรษะ

Turandot โอเปร่าเรื่องสุดท้ายของ Giacomo Puccini (จิอาโคโม ปุชชินี คีตกวีอุปรากรคนสำคัญชาวอิตาลี ของคริสต์ศตวรรษที่ 19) จะถูกเล่าคู่ขนานไปกับการเดินตามเส้นทางศิลปะที่หลากหลายของ Galileo Chini (กาลิเลโอ คินี มัณฑนากร นักออกแบบ จิตรกร และประติมากรชาวอิตาลี) ศิลปินผู้สร้างสรรค์ฉากโอเปร่าที่ได้แรงบันดาลใจจากสยาม สู่การแสดงเดี่ยวที่เกิดจากการผสมผสาน วรรณศิลป์ ศิลปะ ศิลปะการแสดง ดนตรี การออกแบบ สื่อผสม บนพื้นฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการวิจัย

Chini and Turandot จะจัดแสดง ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ทั้งหมด 5 รอบ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

วันและเวลาในการแสดง

25 พ.ย. 2565 เวลา 17:00 น.

26 พ.ย. 2565 เวลา 14:00 น. รอบนี้มีการเสวนาร่วมกันหลังรับชม (Post-talk) กับ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ และ ศ.พรรัตน์ ดำรุง (ที่นั่งเต็มแล้ว)

26 พ.ย. 2565 เวลา 17:00 น.

27 พ.ย. 2565 เวลา 14:00 น. และ 17:00 น.

ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

สอบถามรายละเอียดได้ทาง

inbox facebook page : Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์

หรือ link ด้านล่าง

https://www.facebook.com/profile.php?id=100086486893985

ขอขอบคุณ เพจ ตามรอยกาลิเลโอ คินี

#rcacbkk #rcac #rcac84 #84rcac #ratchadamnoencontemporaryartcenter #หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

ภาพบรรยากาศการแสดง Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ รอบแรก ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565




กิจกรรมอื่นๆ

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031