Facebook Logo

สศร. Cinema สาขาหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ภูมิใจเสนอ “แรงบันดาลใจแห่งความกล้า และท้าทาย” ผ่านเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ประจำปีพุทธศักราช 2566 “อนุชา บุญยวรรธนะ”

สศร. Cinema สาขาหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ภูมิใจเสนอ “แรงบันดาลใจแห่งความกล้า และท้าทาย” ผ่านเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ประจำปีพุทธศักราช 2566 “อนุชา บุญยวรรธนะ”

#Rcac #ประมวลภาพ #ภาพบรรยากาศ

กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร ประจำปีพุทธศักราช 2566

ในซีรีส์เสวนาชุด “7 แรงบันดาลใจ 7 ความหมายแห่งชีวิต ศิลปินศิลปาธร 2566”

สศร. Cinema สาขาหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ภูมิใจเสนอ “แรงบันดาลใจแห่งความกล้า และท้าทาย” ผ่านเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ประจำปีพุทธศักราช 2566 “อนุชา บุญยวรรธนะ”

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566

นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มอบหมายให้ นางสาวณุภัทรา จันทวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการหอศิลป์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมีคุณกันต์สินี อารีย์โชคชัย เลขานุการสภาวัฒนธรรมเขตคลองสามวา และคุณสุจิตรา โรจนะจิตสินน์ ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมเขตคลองสามวา ให้เกียรติเข้าร่วมงานเสวนาฯ ในครั้งนี้ ในซีรีย์เสวนาชุด “7 แรงบันดาลใจ 7 ความหมายของชีวิต ศิลปินศิลปาธร” ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

โดย “อนุชา บุญยวรรธนะ” ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหวประจำปีพุทธศักราช 2566 ให้เกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเรื่องราวการสร้าง “แรงบันดาลใจแห่งความกล้า และท้าทาย” จากนักสะสมดอกไม้ช่วงวัยเยาว์สู่การสั่งสมประสบการณ์และความคิด รังสรรค์เป็นผลงานอันยอดเยี่ยมผ่านแผ่นฟิล์มตั้งแต่ครั้งยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ตามสายน้ำ” สร้างชื่อเสียงให้กับบัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ผู้นี้จนโด่งดังไกลถึงเวทีต่างประเทศ และคว้า 2 รางวัลใหญ่ในบ้านได้อย่างน่าภาคภูมิใจ หลังบ่มเพาะฝีมือในเส้นทางผู้กำกับภาพยนตร์หน้าใหม่ได้ไม่นาน ผลงานภาพยนตร์เรื่องยาวชิ้นแรก “อนธการ” (The Blue Hour) และชิ้นที่สอง “มะลิลา” (Malila The Farewell Flower) ก็ผงาดสู่สายตาชาวโลกอย่างเต็มภาคภูมิ แถมกวาดรางวัลระดับนานาชาติมากมายหลายสถาบัน แม้เส้นทางการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์สะท้อนสังคมและการเปลี่ยนผ่าน ในแนว LGBTQ+ จะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่อุดมการณ์และความมุ่งมั่นกว่า 18 ปี ในการสร้างสรรค์ผลงานยกระดับเพศทางเลือกให้มากกว่าภาพยนตร์ตลกและการถูกกดทับ ล้อเลียน ผ่านการแสดง ยังยืดหยัดอย่างแข็งแกร่ง พร้อมเต็มที่ในการสานฝันให้ไทยเป็น Hub หนังและละครสายวายในวงการภาพยนตร์โลก ปัจจุบันในฐานะนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ยังอุทิศตนเพื่อความเข้มแข็งในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นผู้นำขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในแวดวงวิชาชีพเดียวกัน เรียกได้ว่า เป็นศิลปินคนเก่งที่ผู้ชมทุกคนลุกขึ้นปรบมือให้ดังกึกก้องโรงภาพยนตร์ ด้วยสามารถ balance ธุรกิจกับศิลปะสาขาภาพยนตร์ได้อย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร ประจำปีพุทธศักราช 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ผู้ที่รักในงานศิลปะและผู้ที่สนใจสามารถรับชมกิจกรรมเสวนาฯ ย้อนหลังได้ทั้ง 7 ครั้ง ผ่านทางเพจ Facebook สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย #ศิลปินศิลปาธร2566

รับชมย้อนหลังได้ทางเฟซบุ๊ก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

https://fb.watch/obmtQ8Mi6S/?mibextid=Nif5oz

ทั้งนี้ เชิญชวนผู้ที่รักในงานศิลปะและผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ประจำปีพุทธศักราช 2566 จัดขึ้นในวันพุธ ที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และสามารถติดตามกิจกรรมเสวนาฯ ผ่าน Facebook Live : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#ศิลปินศิลปาธร2566

#งานเสวนา#ศิลปินศิลปาธร#ศิลปินศิลปาธร2566#ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัลศิลปาธรประจำปี2566

#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย#กระทรวงวัฒนธรรม#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน


โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัล “ศิลปาธร” เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จนถึงปี พ.ศ. 2565 ปรากฎรายพระนาม และรายชื่อศิลปินร่วมสมัยรางวัล “ศิลปาธร” 1 พระนาม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับการยกย่องเป็นศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ (แฟชั่นและเครื่องประดับ) และอีก 101 รายชื่อ

โดยในปีพุทธศักราช 2566 กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้มอบรางวัล

“ศิลปาธร” ให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นจำนวน 7 สาขา ดังนี้

สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายตะวัน วัตุยา

สาขาสถาปัตยกรรม ได้แก่ นายอรรถพร คบคงสันติ

สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นางสาวจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท

สาขาดนตรี ได้แก่ นายดำริห์ บรรณวิทยกิจ

สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางสาวมณฑาทิพย์ สุขโสภา

สาขาศิลปะการออกแบบ ได้แก่ นายอิศร์ อุปอินทร์

และสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ได้แก่ นายอนุชา บุญยวรรธนะ

ทั้งนี้รางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินศิลปาธร

ประกอบด้วยเข็มเชิดชูเกียรติและเงินรางวัลจำนวนหนึ่งแสนบาทถ้วน เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ศิลปิน สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้เป็นที่ประจักษ์ต่อวงการศิลปะร่วมสมัย ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป

สามารถชมการถ่ายสดงานแถลงข่าวมอบรางวัลย้อนหลังผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ได้ที่นี่ https://fb.watch/njqlIha1dq/

ขอขอบคุณ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#ประมวลภาพกิจกรรม

#Rcacbkk#Rcac84#84rcac#Ratchadamnoencontemporaryartcenter

#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน


ประมวลภาพกิจกรรม

กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากศิลปินศิลปาธร ประจำปีพุทธศักราช 2566

ในซีรีส์เสวนาชุด “7 แรงบันดาลใจ 7 ความหมายแห่งชีวิต ศิลปินศิลปาธร 2566”

โดย “อนุชา บุญยวรรธนะ” ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัลศิลปาธรประจำปี พ.ศ.2566 สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว

ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น.




กิจกรรมอื่นๆ