Facebook Logo

แถลงข่าวเปิดตัว แนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก พร้อมแนะนำ 20 ศิลปินแรก ใน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 แล้ว

แถลงข่าวเปิดตัว แนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก พร้อมแนะนำ 20 ศิลปินแรก ใน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 แล้ว

#RcacPR #ประชาสัมพันธ์

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

ดำเนินการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 ณ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

ได้เปิดตัวศิลปิน 20 รายชื่อแรกที่ตอบรับเข้าร่วม

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งนี้

มีกำหนดการจัดระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ณ จังหวัดเชียงราย

มีศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศร่วมสร้างสรรค์ผลงานในพื้นที่จังหวัดเชียงรายหลายอำเภอกว่า 60 ชีวิต โดยมีทั้งศิลปินระดับโลกที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง

ซึ่งทีมภัณฑารักษ์เชิญศิลปินเข้าร่วมโครงการโดยคำนึงถึงความหลากหลายของรูปแบบผลงานและเนื้อหา ทั้งยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการค้นคว้าประวัติศาสตร์และบริบทของเมืองในแง่มุมต่างๆ เพื่อส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้กับบรรดาศิลปิน รวมถึงมีการพาศิลปินหลายคนลงพื้นที่สำรวจประเด็นน่าสนใจ เพื่อจุดประกายไอเดียให้เกิดแรงบันดาลใจในการสะท้อนความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมของเชียงรายผ่านผลงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์และสื่อความหมาย


ในโอกาสที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ในวันที่ 25 มีนาคม 2566 ณ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เราจึงขอแนะนำศิลปิน 20 รายชื่อแรกที่ตอบรับเข้าร่วม Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีตัวแทนศิลปินเข้าร่วมงานแถลงข่าว ดังต่อไปนี้

.

รชพร ชูช่วย ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม all(zone) กลุ่มนักออกแบบมืออาชีพที่มีความสุขกับการได้ร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญโดยไม่จำกัดพรมแดนหรือสัญชาติ ผลงานชิ้นสำคัญของ all(zone) คือการสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยมที่เชียงใหม่

.

จิระเดช มีมาลัย, พรพิลัย มีมาลัย และกฤตพร มหาวีระรัตน์ ตัวแทนจากกลุ่มบ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม องค์กรไม่แสวงผลกำไรขับเคลื่อนและริเริ่มโดยศิลปิน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปิน ภัณฑารักษ์ นักวิจัยกับชุมชน และสนับสนุนให้เกิดชุมชนศิลปะภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

.

บู๊ซือ อาจอ จิตรกรที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดในพื้นที่ภูเขาอันห่างไกลของเมียนมาร์ เธอและครอบครัวถูกบังคับให้ต้องหลบหนีตั้งแต่ยังเด็กจากการรุกรานของทหาร เธอสร้างสรรค์ผลงานที่ดึงเอาประสบการณ์จากชีวิตประจำวันในฐานะผู้หญิงในโลกร่วมสมัย รวมถึงรากเหง้าในฐานะสมาชิกชนเผ่าอาข่า

.

เอิร์นเนสโต เนโต (Ernesto Neto) ศิลปินชาวบราซิลจากเมืองรีโอเดจาเนโร เขาผลิตผลงานที่มีอิทธิพลจากการสำรวจ การสร้างพื้นที่ทางสังคมและโลกธรรมชาติ โดยเชิญชวนให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพและประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสร่วมกับผลงาน

.

แฮกู ยาง (Haegue Yang) ศิลปินชาวเกาหลี ปัจจุบันพำนักและทำงานในเบอร์ลิน เธอมักนำวัตถุที่หาได้ทั่วไปและวัสดุเหลือใช้ในบ้าน มาทำการแยกวัสดุเหล่านั้นออกจากบริบทดั้งเดิมและจัดเรียงใหม่เป็นองค์ประกอบเชิงนามธรรมที่สร้างจากคำศัพท์และภาษาภาพที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นส่วนตัว

.

กมลลักษณ์ สุขชัย ศิลปินภาพถ่ายที่มักจะสร้างสรรค์งานศิลปะ ด้วยการสํารวจคติชนวิทยาในพื้นที่อุษาคเนย์ที่ส่งผลต่อประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา และมายาคติทางเพศ ผ่านโครงสร้างของเรื่องเล่า เช่น นิทาน ตํานาน พงศาวดาร และมุขปาฐะ

.

รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ และดาราวรรณ มาฉันท์ จากกลุ่ม 101 เฮือนโบราณล้านนา กลุ่มศิลปินและสถาปนิกชาวล้านนาที่ทำการสำรวจบ้านเก่าของคนไตเขิน ไตลื้อ ยอง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงทำการสืบค้น วิจัย และสัมภาษณ์เจ้าของบ้านไม้พื้นเมืองที่เริ่มสูญหายไปในช่วงโลกาภิวัตน์อย่างต่อเนื่อง บางครั้งก็ซ่อมแซมบ้านที่เริ่มเสียหายไปตามกาลเวลา

.

สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ผู้ก่อตั้ง Sanitas Studio ผลงานเธอมีทั้งประติมากรรม งานศิลปะแบบจัดวาง และงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม

โทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobias Rehberger) ศิลปินชาวเยอรมัน ศาสตราจารย์ด้านวิจิตรศิลป์ที่ Frankfurt Städelschule ปัจจุบันพำนักและทำงานในแฟรงก์เฟิร์ต เขาประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์งานเชิงสุนทรียะแบบข้ามแขนงอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาพ วัตถุ งานจัดวาง และการทำงานร่วมกัน

.

นอกจาก 9 ศิลปินทั้งเดี่ยวและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ที่เข้าร่วมงานแถลงงานข่าวแล้ว ศิลปินชาวไทยและต่างประเทศคนอื่นๆ ก็มีประวัติส่วนตัวและผลงานน่าสนใจไม่แพ้กัน ขอเชิญมาทำความรู้จักกับพวกเขาทั้ง 20 ศิลปินกันได้เลย

#tbc2023

#thailandbiennalechiangrai

#thailandbiennalechiangrai2023

#เชียงรายเมืองศิลปะ

#ไทยแลนด์เบียนนาเล่

#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

ขอขอบคุณ Facebook: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

The Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 International Art Festival is slated to take place between 9th December, 2023, till 30th April, 2024, in the province of Chiang Rai. Over 60 artists from Thailand and abroad will have their works exhibited throughout the province, including both well-established and burgeoning contemporary artists alike. The curatorial team has chosen each contributing artist with careful consideration of the diversity among selected works and subjects, conducting in-depth research into the city’s contextual history. This research was distributed to all participating artists, alongside regular research trips into the area proper, all to inspire these artists to reflect Chiang Rai’s multicultural identity through unique and meaningful art.

.

With the Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture, having hosted a press conference to debut the festival concept of “The Open World” on the 25th of March, 2023, at Chiang Rai’s Wat Rong Khun, we would like to take this opportunity to introduce the first 20 artists confirmed to be contributing to the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, with the following representatives being present at the press conference:

.

Rachaporn Choochuey Founder of all(zone), a group of professional designers who find joy in working with experts from various fields, with no limit on borders or nationalities. One of all(zone)’s most significant achievements is the establishment of the MAIIAM Contemporary Art Museum in Chiang Mai.

.

Jeeradech Meemalai, Pornpilai Meemalai, and Krittiporn Mahaweerarat Representatives from Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, a non-profit organization founded by artists to foster cooperation between artists, curators, researchers, and local peoples, with the goal of creating an art-based culture based on the principles of grassroots development.

.

Busui Ajaw A self-taught artist born in the remote mountainous regions of Myanmar, she and her family have long been forced to flee persecution from the invading national army. She has created works that draw from her harrowing life experiences both as a contemporary woman and her roots as a member of the Akha people.

.

Ernesto Neto A Brazilian artist from Rio de Janeiro. His works are typically inspired by the exploration of social standing and the natural world, often inviting audiences to have physical interactions with them, or otherwise provide highly sensory experiences.

.

Haegue Yang Hailing from South Korea but currently based in Berlin, this artist utilizes common household objects and discarded items in her art, separating them from their original contexts and rearranging them into abstract components based on vocabulary and imagery that is both unique and personal.

.

Kamonluk Sukchai A photographic artist who commonly produces works that explore folklore from various Southeast Asian cultures, and their significance to history, cultural identity, nationality, religion, and preconceptions around gender. This is done through studying the structure of various story-telling forms, such as stories, legends, chronicles, and oral retellings.

.

Rungroj Piamyotsak and Darawan Machan Representing the 101 Historic Lanna House Collective, a collection of artists and architects of Lanna heritage with the objective of studying the ancient traditional homes of the Tai Khoen, Tai Lue, and Yong peoples around Chiang Mai province. The group commonly engages with owners of these old homes, conducting extensive studies, research, and interviews with homeowners, even renovating and preserving some of these homes.

.

Sanitas Pradittasnee Founder of Sanitas Studio, with a portfolio of works including sculptures, installations, and landscape architecture.

.

Tobias Rehberger German artist and Professor of Aesthetics at Frankfurt Städelschule. He is currently based in Frankfurt, where he lives and works, and is most known for successfully creating highly unique cross-disciplinary works of aesthetic art, simultaneously acting as an image, sculpture, installation, and collaboration.

.

Beyond these 9 solo and group artist representatives present at the press conference, there are numerous other Thai and foreign artists with equally intriguing resumes slated to take part in the festival. You may get acquainted with each of the 20 artists below (click on their photos to read more about them).

สอบถาม/ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ocac.go.th

facebook : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

โทรศัพท์ 02 209 3753-4

ที่มา Facebook: https://www.facebook.com/OfficeOfContemporaryArtAndCulture

กดติดตาม มหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

https://www.facebook.com/thailandbiennale

เอิร์นเนสโต เนโต
เกิดที่รีโอเดจาเนโร เมื่อปี พ.ศ. 2507 พำนักและทำงานอยู่ที่รีโอเดจาเนโร
.
Ernesto Neto
Born in 1964, Rio de Janeiro. Lives and works in Rio de Janeiro.
.
ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 เอิร์นเนสโต เนโต ได้ผลิตผลงานที่มีอิทธิพลจากการสำรวจ การสร้างพื้นที่ทางสังคมและโลกธรรมชาติ โดยเชิญชวนให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพและประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสร่วมกับผลงาน เขาวาดภาพจากรูปทรงของสิ่งมีชีวิต และสร้างสรรค์ประติมากรรมแบบมินิมัลลิสต์ และเป็นศิลปินแนวหน้าของบราซิลในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 70 เอิร์นเนสโต เนโต มักอ้างอิงและรวมเอารูปทรงและอินทรีย์วัตถุ เช่น เครื่องเทศ ทราย และเปลือกหอย เข้ามามีส่วนร่วมกับประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้เกิด การรับรู้ทางประสาทสัมผัส รูปแบบใหม่ที่ต่อรองขอบเขตระหว่างงานศิลปะกับผู้ชม สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โลกธรรมชาติ จิตวิญญาณ และสังคม
.
ผลงานของ เอิร์นเนสโต เนโต อยู่ในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในนิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ในฮูสตัน, หอศิลป์เทตในลอนดอน, พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ในนิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์ศิลปะคาร์เนกีในพิตส์เบิร์ก, พิพิธภัณฑ์ Boijmans van Beuningen ในร็อตเตอร์ดัม, Centre Pompidou ในปารีส, Hara Museum ในโตเกียว, Contemporary Art Center of Inhotim ในบราซิล, พิพิธภัณฑ์ Hirshhorn และสวนประติมากรรมในวอชิงตัน ดี.ซี., พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Milwaukee, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในลอสแองเจลิส และอื่นๆ อีกมากมาย
.
Since the mid-1990s, Ernesto Neto has produced an influential body of work that explores constructions of social space and the natural world by inviting physical interaction and sensory experience. Drawing from Biomorphism and minimalist sculpture, along with Neo-concretism and other Brazilian vanguard movements of the 1960s and 1970s, the artist both references and incorporates organic shapes and materials – spices, sand and shells among them – that engage all five senses, producing a new type of sensory perception that renegotiates boundaries between artwork and viewer, the organic and manmade, and the natural, spiritual and social worlds.
.
Neto’s work is well represented in international museum collections, including those of the Museum of Modern Art in New York, Museum of Fine Arts, Houston, Tate Gallery in London, Solomon R. Guggenheim Museum in New York, Carnegie Museum of Art in Pittsburgh, Museum Boijmans van Beuningen in Rotterdam, Centre Pompidou in Paris, Hara Museum in Tokyo, Contemporary Art Center of Inhotim in Brazil, Hirshhorn Museum and Sculpture Garden in Washington, D.C., Milwaukee Art Museum, Museum of Contemporary Art, Los Angeles, among many others.
โฮ ซู เงียน
เกิดที่สิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 พำนักและทำงานอยู่ที่สิงคโปร์
.
Ho Tzu Nyen
Born in 1976, Singapore. Lives and works in Singapore.
.
ผลงานของ โฮ ซู เงียนเต็มไปด้วยการอ้างอิงทางวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ศิลปะไปจนถึงละครเวที ภาพยนตร์ ดนตรี ไปจนถึงปรัชญา ผลงานของ โฮ ซู เงียน ผสมผสานเรื่องเล่าตำนานและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อระดมความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ผ่านงานเขียนและการถ่ายทอดของมัน สาระสำคัญของงานเขาคือการตรวจสอบระยะยาวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีหลายแง่มุมทั้งในแง่ของภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และอิทธิพล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะลดให้เหลือเพียงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เรียบง่ายหรือ ประวัติศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ข้อสังเกตเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้สะท้อนให้เห็นในชิ้นงานของเขาซึ่งสานระบบความรู้ เรื่องเล่า และการเป็นตัวแทนต่างๆ เข้าด้วยกัน จากการวิจัยเชิงสารคดีไปจนถึงแฟนตาซี งานของเขาผสมผสานภาพจดหมายเหตุ แอนิเมชัน และภาพยนตร์ในการจัดวางที่มักจะชวนดื่มด่ำและมีลักษณะเป็นการแสดง
.
โฮ ซู เงียน เข้าร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เช่น Singapore Pavilion, Venice Biennale (พ.ศ. 2554), Gwangju Biennale (พ.ศ. 2561, 2564) และ Sharjah Biennial ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2562) ภาพยนตร์ของเขาได้รับการฉายในเทศกาลภาพยนต์นานาชาติทั่วโลก
.
Steeped in numerous Eastern and Western cultural references, ranging from art history to theatre and from cinema to music to philosophy, Ho Tzu Nyen’s works blend mythical narratives and historical facts to mobilize different understandings of history, its textual practices and transmission. The central theme of his œuvre is a long-term investigation of the plurality of cultural identities in Southeast Asia, a region so multifaceted in terms of its languages, religions, cultures and influences that it is impossible to reduce it to a simple geographical area or some fundamental historical base. This observation as to the history of this region of the world is reflected in his pieces which weave together different regimes of knowledge, narrative and representation. From documentary research to fantasy, his work combines archival images, animation and film in installations that are often immersive and theatrical.
.
Ho Tzu Nyen has participated in numerous international exhibitions such as Venice Biennale, Singapore Pavilion (2011), Gwangju Biennale (2018, 2021) and the 14th Sharjah Biennial (2019). His films have also been screened at numerous international film festivals.
นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล
เกิดที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2514 พำนักและทำงานอยู่ที่ฟูกูโอกะและเชียงใหม่
.
Navin Rawanchaikul
Born in 1971, Chiang Mai. Lives and works in Fukuoka and Chiang Mai.
.
นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล สนใจแสวงหาแนวทางเชื่อมโยงศิลปะกับชีวิตประจำวัน ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือ Places of Rebirth (พ.ศ. 2552) ได้รับแรงบันดาลใจจากการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของครอบครัว ซึ่งเป็นภูมิภาคของอินเดียที่กลายมาเป็นปากีสถานในปี พ.ศ. 2490 เมื่อเขากลับมาประเทศไทย ศิลปินได้สัมภาษณ์ผู้อพยพชาวอินเดียรุ่นพ่อแม่ของเขาที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ เพื่อพยายามทำความเข้าใจเหตุผลของการโยกย้ายและขั้นตอนการสร้างบ้านใหม่ในประเทศไทย เรื่องราวของพวกเขาแสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้สร้างพื้นที่ใหม่ทางภูมิศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านั้น และทำให้เกิดแนวคิดเรื่องบ้านแยกตัวออกจากตำแหน่งที่แน่นอน งานศิลปะของนาวินมักบรรยายถึงช่วงเวลาวัยเด็กที่ซับซ้อนของเขา ตั้งแต่เติบโตในประเทศไทยและถูกมองว่าเป็นคนนอก ไปจนถึงการทำความเข้าใจกับเชื้อสายอินเดียและใช้เป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
.
Navin Rawanchaikul seeks ways to connect art with the lives of everyday people. Places of Rebirth (2009) was inspired by the artist’s journey back to his family’s homeland, the region of India that became Pakistan in 1947. Upon his return to Thailand, the artist interviewed Indian immigrants of his parent’s generation who also now live in Chiang Mai, attempting to understand their journey to Thailand and the process of making a new home there. Their stories illustrate how globalization has brought rapid and continuing change, constantly remaking geographies, impacting the people who inhabit these places, and often causing the idea of home itself to be detached from a fixed location. Navin’s art often describes his own complicated childhood, from growing up in Thailand and being perceived as an outsider to coming to terms with his Indian descent and using it as his motivation for creating art.
.
เหงียน ตรินห์ ตี
เกิดที่ฮานอย เมื่อปี พ.ศ. 2516 พำนักและทำงานอยู่ที่ฮานอย
.
Nguyen Trinh Thi
Born in Hanoi, 1973. Lives and works in Hanoi.
.
เหงียน ตรินห์ ตี เป็นคนทำภาพยนตร์และศิลปิน มีถิ่นพำนักอยู่ที่ฮานอย เธอทำงานข้ามขอบเขตระหว่างภาพยนตร์ สารคดี วิดีโออาร์ต งานจัดวาง และการแสดง ปัจจุบันปฏิบัติการทางศิลปะของเธอสำรวจความเป็นไปได้ของเสียงและการฟัง และความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างภาพ เสียง และพื้นที่ โดยเธอมีความสนใจอย่างต่อเนื่องในด้านประวัติศาสตร์ ความทรงจำ ระบบนิเวศ ภาพแทน และสิ่งที่ไม่รู้จัก (the unknown) เหงียนเข้าร่วมแสดงงานนิทรรศการในต่างประเทศ ได้แก่ Documenta 15, คัสเซิล (พ.ศ. 2565), สถาบันศิลปะมินนีแอโพลิส, มินนิโซตา (พ.ศ. 2562), Asia Pacific Triennial of Contemporary Art ครั้งที่ 9, บริสเบน, ควีนส์แลนด์ (พ.ศ. 2562), Biennale of Sydney ครั้งที่ 21 (พ.ศ. 2561) และ Lyon Contemporary Art Biennale ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2558) ในปี พ.ศ. 2552 เหงียนก่อตั้ง Hanoi DOCLAB ซึ่งเป็นศูนย์อิสระสำหรับภาพยนตร์สารคดีและภาพเคลื่อนไหวในฮานอย
.
Nguyễn Trinh Thi is a filmmaker and artist. Traversing boundaries between film, documentary, video art, installation, and performance, her practice currently explores the potential of sound and listening, and the multiple relations between the image, sound, and space with ongoing interests in history, memory, ecology, representation, and the unknown. Recent exhibitions include installations at Documenta 15, Kassel (2022); the Minneapolis Institute of Art, Minnesota (2019), the 9th Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, Brisbane, Queensland (2019); the 21st Biennale of Sydney (2018), and the 13th Lyon Contemporary Art Biennale (2015). In 2009, Nguyễn founded Hanoi DOCLAB, an independent center for documentary film and moving image in Hanoi.
.
สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2523 พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ
.
Sanitas Pradittasnee
Born in Bangkok, 1980. Lives and works in Bangkok.
.
สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ จบปริญญาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านทัศนศิลป์ ที่ Chelsea College of Art and Design กรุงลอนดอน สนิทัศน์ได้ก่อตั้ง Sanitas Studio ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งทำงานศิลปะจัดวางและทำงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม
.
ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตัวตนทาง ‘สถาปัตยกรรม’ จะค่อยๆ ลดลงขณะที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นตามธรรมชาติ ผลงานเปิดพื้นที่ในการโต้ตอบและให้เวลาสำหรับการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
ผลงานของสนิทัศน์ มีทั้งงานประติมากรรม งานศิลปะแบบจัดวาง และงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม ผลงานนิทรรศการที่ผ่านมา เช่น การเข้าร่วมเทศกาลศิลปะนานาชาติ Bangkok Art Biennale (พ.ศ. 2561), นิทรรศการกลุ่ม Heads or Tails ที่แกลเลอรี Sundaram Tagore, นิวยอร์ก (พ.ศ. 2560), นิทรรศการเดี่ยว Capturing the Intangible ที่หอศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2559) และ ผลงานชุด เขามอ (Khao Mo:Mythical Escapism) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2556)
.
With her background in landscape architecture and fine art, Sanitas Pradittasnee
is interested in sculptural space. After completing a degree in landscape architecture from Chulalongkorn University’s Faculty of Architecture, Sanitas earned a MFA at Chelsea College of Art and Design in London and founded Sanitas Studio in 2010, which works in art, art installation, and landscape architecture. In her creations, the self of ‘architecture’ is reduced, while changing ‘nature’ is highlighted. The works give space to interaction as well as time for observation of the changes constantly happening in nature.
.
Sanitas’s oeuvre features sculpture, installation, and landscape architecture. She participated in various exhibitions locally and internationally including Bangkok Art Biennale (2018); Heads or Tailsat Sundaram, group exhibition at Tagore gallery, New York (2017); Capturing the Intangible, solo exhibition at the Art Centre, Chulalongkorn University, Bangkok (2016); and Khao Mo (Mythical Escapism) at Bangkok Art and Culture Centre (2013).
.
บู้ซือ อาจอ
เกิดที่เชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2529 พำนักและทำงานอยู่ที่เชียงราย
.
Busui Ajaw
Born in 1986, Chiang Rai. Lives and works in Chiang Rai.
.
บู้ซือ อาจอ เป็นจิตรกรที่เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสร้างสรรค์ผลงานที่ดึงเอาประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเธอในฐานะผู้หญิงในโลกร่วมสมัย รวมถึงรากเหง้าในฐานะชนเผ่าอาข่า นับตั้งแต่เริ่มวาดภาพเมื่ออายุ 15 ปี บู้ซือ อาจอ ได้พัฒนาภาษาของจิตรกรที่แสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อสื่อสารทั้งสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ตลอดจนเนื้อหาและจิตใจ ศิลปินเกิดในพื้นที่ภูเขาอันห่างไกลของเมียนมาร์ เธอและครอบครัวถูกบังคับให้ต้องหลบหนีตั้งแต่ยังเด็กภายหลังจากการรุกรานของทหาร ศิลปินเป็นชาวอาข่า ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากที่ราบสูงของจีนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เธอเติบโตมาในครอบครัวช่างฝีมือและซึมซับวัฒนธรรมปากเปล่ามาตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกสร้างภาพเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับเธอ เมื่อเร็วๆ นี้ เธอเริ่มนำประติมากรรมไม้มารวมเข้ากับภาษาภาพของเธอ รวมทั้งทำงานเกี่ยวกับการจัดวาง บู้ซือ อาจอ จัดแสดงผลงานทั้งในเชียงรายและกรุงเทพฯ
.
Busui Ajaw is a self-taught painter who creates works that draw from her everyday experiences as a woman in the contemporary world as well as her roots as part of the Akha ethnic minority in Chiang Rai. Since she began drawing at age 15, she has developed an expressive painterly language to communicate both the seen and unseen as well as the material and the psychological.
.
Born in a remote mountainous region of Myanmar, the artist was forced to flee as a young child with her family after a military invasion. Her practice relates to her unique upbringing. The artist is an Akha, a nomadic ethnic group from the highlands of mainland Southeast Asia and is from a family of artisans. Coming from an oral culture, the practice of image-making was initially foreign to her. She recently began to incorporate wooden sculpture into her visual language as well as working with installations. Busui exhibits widely in Chiang Rai and Bangkok.
กมลลักษณ์ สุขชัย
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2537 พำนักและทำงานอยู่ที่ กรุงเทพฯ
.
Kamonlak Sukchai
Born in Bangkok, 1994. Lives and works in Bangkok.
.
กมลลักษณ์ สุขชัย ศิลปินภาพถ่ายที่มักสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยการสํารวจคติชนวิทยาในพื้นที่อุษาคเนย์ที่ส่งผลต่อประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา และ มายาคติทางเพศ ผ่านโครงสร้างของเรื่องเล่า เช่น นิทานตํานาน พงศาวดาร และมุขปาฐะ Red Lotus หนึ่งในงานของเธอกระตุ้นให้ผู้ชมได้พิเคราะห์ว่าคติชนเหล่านี้ส่งอิทธิพลต่อการกําหนดบทบาททางเพศในสังคมอย่างไร ในขณะที่ผลงาน Blue Fantasy ตั้งคําถามต่อคํานิยามของประวัติศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งถูกประกอบสร้างอัตลักษณ์และสร้างความรู้สึกร่วม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชาติ โดยหยิบยกตํานานเรื่องพระปทุมสุริยวงศ์ปฐมกษัตริย์แห่งสยาม จากพงศาวดารฉบับคําให้การชาวกรุงเก่า นํามาผสมปนเปไปกับเรื่องเล่าภายในครอบครัวเธอเอง ในส่วนของงานปัจจุบัน เธอกําลังศึกษาและค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ ความปรารถนา และความหมายของชีวิต งานศิลปะของเธอมักเป็นการทดลอง ผ่านเทคนิคภาพปะติดหรือคอลลาจทั้งในเชิงภาพและเนื้อหา เพื่อหาความเป็นไปได้ในการนําเสนองานศิลปะที่ชักชวนและกระตุ้นผู้ชมให้ย้อนกลับไปตั้งคําถามต่อความเชื่อเก่า ผ่านการตีความใหม่ในแบบของเธอ
.
Kamonlak Sukchai is a Thai photographer who is known for her collages. Kamonlak’s works frequently explore Southeast Asian folklore and its influences on history, national identity, religious belief, and sexual mythology, through the structure of fiction, from traditional Thai narratives, historical documents and oral literature. Her striking Red Lotus piece encourages viewers to consider how folklore shapes feminism, through the photographic medium and reflects their influences on feminism, while Blue Fantasy questions the definitions of written ‘history’, which has formed and shaped our identities and sense of longing and belonging, by selecting a chronicle of the first Siamese King from Ayutthaya Testimonies and a mixture of her family background and fanciful local folk tales. For her current project, Kamonlak journeys to another facet as she investigates the relationship between mythical symbols, human desire, and the meaning of life. Since her early works, she has experimented with the collage technique to find new possibilities, especially on how it can encourage the audience to go back and reinterpret old beliefs from a new perspective.
ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ
เกิดที่กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2496 พำนักและทำงานอยู่ที่เชียงราย
.
Sriwan Janehuttakarnkit
Born in 1953, Bangkok. Lives and works in Chiang Rai.
.
ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาภาพพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เธอใช้ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของชีวิตเป็นอาจารย์สอนศิลปะให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 30 ปี หลังจากเกษียณ จึงเดินทางไปพำนัก และสร้างงานศิลปะที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และได้ก่อตั้ง ‘ศรีดอนมูลอาร์ตสเปซ’
.
ศรีวรรณ สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม รวมทั้งผลงานเซรามิก ที่มักจะผสมผสานทัศนียภาพและเทคนิคแบบจิตรกรรมไทยประเพณี ร่วมกับการวาดภาพลักษณะร่วมสมัยอย่างเป็นธรรมชาติ ผลงานของเธอเป็นที่รู้จักจากสีสันที่จัดจ้าน รายละเอียดที่ซับซ้อน และองค์ประกอบที่เป็นชั้นๆ ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจของเธอในการผสมผสานระหว่างศิลปะ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ท้องถิ่น เนื้อหาในผลงานสะท้อนถึงความคิดและอารมณ์ความรู้สึกในห้วงเวลานั้น และการพยายามทำความเข้าใจต่อความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ตามคำสอนทางพุทธศาสนาและธรรมชาติ
.
Sriwan Janehuttakarnkit graduated from Silpakorn University with bachelor’s and master’s degrees in fine arts in 1976 and 1979, respectively. She spent 30 years teaching art in many universities in Bangkok and other cities in Thailand. After retirement, she left Bangkok to reside in Chiang Saen district, Chiang Rai and founded the Sridonmoon Art Space.
.
Sriwan is known for her paintings and sculptures, as well as ceramic works that often incorporate scenery and Thai traditional painting techniques in conjunction with natural contemporary painting. Her work is known for its bold colors, complex details and layered components which reflects her interest in blending art, culture and local identity. Furthermore, the content in the work reflects her thoughts and feelings at that time as she tried to understand the physical and mental changes according to Buddhist teachings, and nature.
ริวสุเกะ คิโดะ
เกิดที่โตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2527 พำนักและทำงานอยู่ที่โตเกียว
.
Ryusuke Kido
Born in 1984, Tokyo. Lives and works in Tokyo.
.
ริวสุเกะ คิโดะ จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาประติมากรรม จาก Tokyo University of the Arts เขาใช้เทคนิคทางประติมากรรมเป็นหลัก เพื่อค้นหาวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงทางประติมากรรมผ่านผลงานต่างๆ ของเขา คิโดะ ร่วมจัดแสดงผลงานในงานเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2023 (พ.ศ. 2566), When & Discovers New Forms of Art (เมืองคาวาซากิ, ประเทศญี่ปุ่น, พ.ศ. 2559), Distant Observations. Fukushima in Berlin (เบอร์ลิน, เยอรมนี พ.ศ. 2557), Time Remapping ร่วมกับศิลปินไทย วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ (กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2556), นิทรรศการเดี่ยว KIYOME MO/NU/MENT (โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น, พ.ศ. 2560), นิทรรศการเดี่ยว To Push or Not to Push, That’s the Question (โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น, พ.ศ. 2557). รางวัลที่เคยได้รับ ได้แก่ Emerald Grant Award จาก Tokyo University of the Arts (พ.ศ. 2562) และ First Prize of Museum of Contemporary Art Tokyo Bloomberg Pavilion Project (พ.ศ. 2555)
.
Ryusuke Kido completed an MFA in Sculpture from Tokyo University of the Arts. He mainly uses sculptural techniques to consider how to transform or sway the scenery through his work in society. His major exhibitions include BANGKOK DESIGN WEEK 2023 (Bangkok, 2023); When & Discovers New Forms of Art (Kawasaki, Japan, 2016); Distant Observations, Fukushima in Berlin (Berlin, Germany, 2014); Time Remapping with Wit Pimkanchanapong (Bangkok, 2013); solo exhibition KIYOME MO/NU/MENT (Tokyo, Japan, 2017); solo Exhibition To Push or Not to Push, That’s the Question (Tokyo, Japan, 2014). He has received many awards, including the Emerald Grant Award from Tokyo University of the Arts (2019) and First Prize of the Museum of Contemporary Art Tokyo Bloomberg Pavilion Project (2012).
รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์
เกิดที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2507 พำนักและทำงานอยู่ที่เชียงใหม่
.
Roongroj Paimyossak
Born in 1964, Chiang Mai. Lives and works in Chiang Mai.
.
รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ เกิดปี พ.ศ. 2507 ที่เชียงใหม่ เรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนสิริกรศิลปวิทยา, วิทยาลัยช่างศิลป และศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2530) หลังจากนั้น ได้เข้าไปศึกษากับสล่าบ้านถวาย และเรียนรู้วิถีชุมชน นำไปสู่ผลงานศิลปะยุคบุกเบิกแนวนีโอล้านนา
.
จากพื้นฐานเป็นคนที่มีใจมุ่งมั่น จึงได้ทำงานอย่างหนักจนถึงขั้นล้มป่วย และในระหว่างที่พักฟื้นรักษาตัว ได้ศึกษาพุทธศาสนา รวมทั้งแนวคิดของศิลปะจัดวาง ที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมและกระบวนการจัดแสดงผลงานในพื้นที่สาธารณะ
.
สืบเนื่องจากประสบการณ์ในการทำงานกับชาวบ้านตลอด ทำให้รุ่งโรจน์เป็นที่รู้จักในการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและชุมชนในยุคของศิลปะชุมชนและกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางด้านศิลปะ เขาได้เริ่มก่อตั้งกลุ่ม 101 เฮือนโบราณล้านนา กับเพื่อนศิลปิน และ สถาปนิกชาวล้านนา โดยทำการสำรวจบ้านเก่าของคนไตเขิน ไตลื้อ ยอง ในบริเวณบ้านเกิดของเขาที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มศิลปินนี้ ได้ทำงานสืบค้น วิจัย และสัมภาษณ์เจ้าของบ้านไม้พื้นเมือง ที่สร้างสมัยปลายศตวรรษที่ 19 ที่เริ่มสูญหายไปในช่วงโลกาภิวัตน์อย่างต่อเนื่อง บางครั้งก็ซ่อมแซมบ้านที่เริ่มเสียหายไปตามกาลเวลา เขาได้รวบรวมข้อมูล และทำหนังสือออกมาสู่สาธารณชน
.
Roongroj Paimyossak studied art at Sirikorn Silpawittaya School, College of Fine Arts, and the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University (1987). After that, he went to study with sala (craftsman) at Ban Tawai and learned about the local community way of life, which led him to create pioneering artworks, known as ‘Neo Lanna Art’.
.
Due to over-work, Roongroj fell ill. During recovery, he studied Buddhism as well as the concept of installation art that involves audience participation and the process of displaying works in public spaces.
.
Due to his extensive experience of working with the villagers, he is known for creating art that plays an important role in mobilizing the community in the period of the emerging community art and artistic activist collective. He started the 101 Historic Lanna House Collective with fellow Lanna artists and architects. By exploring the traditional houses of Tai Khuen, Tai Lue, and Yong ethnic groups in his hometown in Chiang Mai, this group of artists has searched for, researched and interviewed local wooden house owners, which continue to disappear due to globalization. They sometimes renovate houses that have become dilapidated over time. Roongroj gathered information and published books which are distributed to the public.
แฮกู ยาง
เกิดที่โซล เมื่อปี พ.ศ. 2514 พำนักและทำงานอยู่ที่เบอร์ลิน
.
Haegue Yang
Born in 1971, Seoul. Lives and works in Berlin.
.
แฮกู ยางจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านทัศนศิลป์ จาก Seoul National University ช่วงปลายทศวรรษ 1990 เธอย้ายไปศึกษาต่อที่เยอรมนี ได้รับปริญญาโทจาก Städelschule Frankfurt am Main ผลงานศิลปะของเธอเกิดจากการสำรวจสื่อต่างๆ มากมาย ตั้งแต่งานศิลปะภาพปะติดหรือคอลลาจ ไปจนถึงการแสดงสด ผลงานของยางมักนำเสนอวัตถุที่หาได้ทั่วไปและวัสดุเหลือใช้ในบ้าน ตั้งแต่ถุงคลุมกาน้ำชาไปจนถึงกระป๋องสแปม ศิลปินได้ทำการแยกวัสดุเหล่านั้นออกจากบริบทดั้งเดิมของมัน นำมาจัดเรียงใหม่เป็นองค์ประกอบเชิงนามธรรมที่สร้างจากคำศัพท์และภาษาภาพที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นส่วนตัว ด้วยการรวมผลกระทบการรับรู้ที่สร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของเครื่องทำความร้อน พัดลมไฟฟ้า และแม้แต่เครื่องกระจายกลิ่น ยางมักสร้างสภาพแวดล้อมที่มีหลายประสาทสัมผัส ซึ่งรวมถึงวัตถุทางโลก ซึ่งกลายเป็นการทำสมาธิ ระหว่างการใช้แรงงาน การเชื่อมต่อทางอารมณ์ และความคลาดเคลื่อน ประกอบไปด้วยการอ้างอิงถึงช่วงเวลาต่างๆ ของความเป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัยของประวัติศาสตร์ศิลป์
.
Haegue Yang received her BFA from Seoul National University. In the late 1990s, she moved to Germany, where she earned an MFA from the Städelschule Frankfurt am Main. Traversing a wide range of media, from collage to performance, Yang’s body of work often features quotidian and domestic found objects, ranging from tea cozies to cans of Spam. The artist dissociates such materials from their original contexts, rearranging them into abstract compositions that build upon a unique and personal visual vocabulary. By including perceptual effects generated with the help of heaters, electrical fans, and even scent diffusers, Yang frequently stages multisensory environments, which – together with the mundane objects – become meditations on labor, emotional connection, and dislocation, replete with references to various moments of abstraction throughout art history.
บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554, ราชบุรี
.
Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
Since 2011, Ratchaburi
.
บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม (บ้านนอก คือชื่อหมู่บ้านที่ตั้งชุมชนหมู่ 2 ตำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ขับเคลื่อนและก่อตั้งในปี พ.ศ. 2554 โดยศิลปินคู่ จิระเดช มีมาลัย และพรพิไล มีมาลัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘จิแอนด์ยิ่น’ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปิน ภัณฑารักษ์ นักวิจัย กับชุมชน และสนับสนุนให้เกิดชุมชนศิลปะภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ให้บริการจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ชุมชน ด้วยวิธีวิทยาเชิงสหวิทยาการศิลป์เพื่อชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างชุมชนที่ยั่งยืนตามนิยาม ‘บ้านนอก อนาคตคือปัจจุบัน’ กรรมการที่ปรึกษาได้แก่ จิแอนด์ยิ่น, สาครินทร์ เครืออ่อน, สวี่ เจีย เหว่ย และ หลัว ซื่อ ตง โดยทำงานร่วมกับสมาชิกองค์กร
.
โปรแกรมหลักได้แก่ 1. day OFF LABoratory โครงการศึกษาสหวิทยาการศิลป์นอกห้องเรียน และปฏิบัติการฝึกฝนในทุกๆ วันหยุด-เรียน ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์ศิลปะนอกห้องปฏิบัติการ และศิลปะความร่วมมือและการมีส่วนร่วม โดยมีชุมชนเป็นกรณีศึกษา และ 2. NPKD (หนองโพKiDดี) และ NPKD วิสาหกิจชุมชน บ่มเพาะการตระหนักรู้ต่ออัตลักษณ์ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม จนถึงการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตผลเพื่อจำหน่าย รวมถึงการสร้างทุนทางการเมือง-วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
.
Baan Noorg Collaborative Arts and Culture (Baan Noorg or บ้านนอก; noun: countryside or rural area), is a non-profit, artist-run initiative, with a fundamental strategy for community development; it is also a service-provider for artistic practice. It is located in Nongpho district, Ratchaburi and was founded by artists jiandyin (Jiradej Meemalai and Pornpilai Meemalai) in 2011, with jiandyin, Lo Shih Tung, Hsu Chia Wei and Sakarin Krue-On as its board of committees. It aims to determine the possibilities for exchange, integration and co-existence within the community — locally and globally, and to build up community sustainability according to the group’s slogan: Baan Noorg is Future is Now.
.
Its main programs include day OFF LABoratory (OFF LAB), an alternative interdisciplinary art and community-as-case study program, organized biennially, based on post-studio and participatory practices, NongpoKiDdee (NPKD), and NPKD Social Enterprise aims to cultivate awareness towards cultural identity, community knowledge, resourcing, and environmental consciousness, and thereby encourage the local community members to become agents and co-create their own cultural-political capital.
ออล(โซน)
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552, กรุงเทพฯ
.
all(zone)
Since 2009, Bangkok
.
รชพร ชูช่วย ผู้ร่วมก่อตั้ง ออล(โซน) จบปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านเดียวกันจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก และปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยโตเกียว เธอเคยเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2545 – 2565 ในปี พ.ศ. 2552 เธอร่วมก่อตั้งสำนักงานกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบ ออล(โซน) ในกรุงเทพฯ โดยเธอดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นอกเหนือไปจากงานสถาปัตยกรรม รชพรได้รับเชิญไปร่วมบรรยายและสอนทั่วโลกอย่างสม่ำเสมอ ในปี พ.ศ. 2565 เธอได้รับเชิญจาก Yale School of Architecture ให้เป็นอาจารย์พิเศษ ตำแหน่ง Louis I. Kahn Assistant Visiting Professor
.
ออล(โซน) เป็นกลุ่มนักออกแบบมืออาชีพที่มีความสุขกับการได้ร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญโดยไม่จำกัดพรมแดนหรือสัญชาติ เป็นกลุ่มนักออกแบบที่มีสำนักงานหลักตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มหานครขนาดใหญ่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งทำให้พวกเขาหมั่นศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเองและผู้คน พร้อมจดบันทึกไว้เสมอเพื่อหาโซลูชั่นการออกแบบให้ตอบรับวิถีร่วมสมัย และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางเลือกที่ทุกคนรู้สึกได้ถึงความเป็น ‘บ้าน’ บนในโลกนี้
.
ผลงานชิ้นสำคัญของ ออล(โซน) คือการสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยมที่เชียงใหม่ (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งแรกในประเทศไทย) ในปี พ.ศ. 2559 และได้รับรางวัลพิพิธภัณฑ์ใหม่ยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2560 พวกเขาได้รับเชิญร่วมแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์, Chicago Architecture Biennial ปี พ.ศ. 2558, พิพิธภัณฑ์การออกแบบ Vitra ปี พ.ศ. 2560, Triennale di Milano และ Echigo-Tsumari Triennale ปี พ.ศ. 2561 และ Sharjah Architecture Triennial ปี พ.ศ. 2562 นิตยสาร Domus เลือก ออล(โซน) เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในปี พ.ศ. 2562 นิตยสาร Monocle มอบรางวัลให้ ออล(โซน) เป็นหนึ่งใน 50 อันดับแรกของ Best Design Award ปี พ.ศ. 2564 ออล(โซน) ได้รับมอบหมายให้ออกแบบ MPavilion ปี พ.ศ. 2565 ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย
.
Rachaporn Choochuey, Design Director, all(zone). She received her B.Arch from Chulalongkorn University, Bangkok, M.S.AAD. from Columbia University, New York, and Ph.D. in Architecture History from The University of Tokyo. She was a faculty member of the Faculty of Architecture, Chulalongkorn University (2002 – 2022). In 2009, she co-founded all(zone) in Bangkok. Rachaporn regularly gives lectures and teaches internationally. In Fall 2022, she was appointed as Louis I. Kahn Assistant Visiting Professor at the Yale School of Architecture.
.
all(zone) is a group of design professionals who are fascinated by the ever-changing mega-metropolises that give form to their everyday lives. Their observations are always captured by contemporary vernacular design solutions, facilitating the creation of built environments in which all can feel ‘at home’ in the world.
.
In 2016, all(zone) completed the MAIIAM Contemporary Art Museum in Chiang Mai, which is the first contemporary art museum in Thailand; MAIIAM won the Best New Museum of Asia Pacific Award in 2017. all(zone) members were invited to participate in various international exhibitions at Guggenheim Museum, New York; Chicago Architecture Biennial 2015; Vitra Design Museum 2017; Triennale di Milano 2018; Echigo-Tsumari Art Triennale 2018; and Sharjah Architecture Triennial 2019. Domus magazine selected all(zone) as one of 100+ Best Architecture Firms in 2019. Monocle magazine awarded an all(zone) project a Top 50 Best Design Award in 2021. all(zone) was commissioned to design MPavilion 2022 in Melbourne, which was inaugurated in November 2022 and will be relocated to another site in the city soon.
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2505 พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ
.
Nipan Oranniwesna
Born in 1962, Bangkok. Lives and works in Bangkok.
.
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ มักทำงานกับประเด็นทางสังคมและการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ผ่านทางผลงานศิลปะที่มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพื้นที่ ทั้งในแง่กายภาพและเนื้อหาเชิงแนวความคิด สื่อในผลงานของนิพันธ์นั้น มีตั้งแต่งานจิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสม ผลงานจัดวางในพื้นที่เฉพาะ ภาพถ่าย และงานวิดีโอ โดยมุ่งสำรวจลึกลงไปในความทรงจำส่วนตัวและความทรงจำร่วม การต่อรองกับพื้นที่ ความคิดต่อแผนที่ รวมถึงประเด็นแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นภูมิกายาของชาติและรัฐ ผลงานของเขามักสะท้อนความคิดเรื่องถิ่นที่อยู่ อัตลักษณ์ และการโยกย้าย และให้ความสำคัญกับผัสสะของผู้ชม และพื้นที่ระหว่างผู้ชมกับงานศิลปะ ผลงานของนิพันธ์ ได้ไปจัดแสดงในนิทรรศการสำคัญๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น The 12th Gwangju Biennale: Imagined Borders (พ.ศ. 2561), Kenpoku Art (พ.ศ. 2559), Setouchi Triennale, Asia Art Platform (พ.ศ. 2556), Singapore Biennale: If The World Change (พ.ศ. 2556), The 18th Biennale of Sydney: all our relations (พ.ศ. 2555) นิพันธ์ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยจัดแสดงผลงานในศาลาไทย ในเทศกาลศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 52 ในปี พ.ศ. 2550
.
Nipan Oranniwesna works with various social aspects and historical research through the work that accentuates relationship analysis between human and territory in both physical and conceptual ideas. Nipan’s works in different media that range from painting, sculpture, mixed media, site-specific installation to photography and video works. His practice delves into personal and collective memories, dealing poetically with spaces, urban cartography, and the geo-body of nation/state. Nipan is appreciated for his unmistakably distilled and contemplative installations that deal with concepts of home, identity, and displacement. He deals with the perception of the viewer and the space between people and his artworks. He has exhibited domestically and internationally, such as 12th Gwangju Biennale (2018); Kenpoku Art 2016; Setouchi Triennale (2013); Singapore Biennale (2013); The 18th Biennale of Sydney (2012); and 52nd Venice Biennale (Thai Pavilion, 2007).
โซ ยู นวย
เกิดที่รัฐฉาน เมื่อปี พ.ศ. 2532 พำนักและทำงานอยู่ที่ย่างกุ้ง
.
Soe Yu Nwe
Born in Shan State, 1989. Lives and works in Yangon.
.
โซ ยู นวย เป็นศิลปินจากประเทศเมียนมาร์ หลังจากจบปริญญาโทสาขาทัศนศิลป์ ด้านเซรามิก จาก Rhode Island School of Design (RISD) ในปี พ.ศ. 2558 นวยได้เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและทั่วเอเชีย ประสบการณ์การใช้ชีวิตข้ามวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจให้เธอสะท้อนตัวตนของเธอเองผ่านการสร้างงาน โดยมองว่าเป็นตัวตนที่ลื่นไหล เปราะบาง และแยกส่วน เธอสร้างร่างกายลูกผสมโดยอ้างอิงถึงอวัยวะภายในและพฤกษศาสตร์ในสภาวะต่างๆ ตามธรรมชาติของการเจริญเติบโต การเสื่อมสลาย และการตาย เธอได้ไตร่ตรองถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ส่วนบุคคลในสังคมโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผ่านการเปลี่ยนโฉมภูมิทัศน์ทางอารมณ์ของเธอด้วยการแสดงภาพในเชิงกวีของธรรมชาติและร่างกายเป็นส่วนๆ ผลงานของนวยได้รับการจัดแสดงในระดับนานาชาติ รวมถึงในงาน Asia Pacific Triennial of Contemporary Art ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ. 2562 (ออสเตรเลีย), Dhaka Art Summit ปี พ.ศ. 2561 (บังกลาเทศ) และ Jakarta Contemporary Ceramic Biennale ครั้งที่ 4, หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย, จาการ์ตา, พ.ศ. 2559 (อินโดนีเซีย) นวยได้รับการเสนอชื่อใน Forbes 30 Under 30: Art & Style ในนิตยสาร Forbes เมื่อปี พ.ศ. 2562 ผลงานของเธออยู่ในชุดสะสมของ Queensland Art Gallery & Gallery of Modern Art ในบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
.
Soe Yu Nwe is an artist from Myanmar. After earning a MFA degree in Ceramics at Rhode Island School of Design (RISD) in 2015, Nwe has participated in numerous residencies in the United States and across Asia. Her experience of living cross-culturally has inspired her to reflect upon her own identity through creation, conceiving it as a fluid, fragile and fragmented entity. She creates hybridized bodies by referencing the viscera and the botanical in nature’s various states of growth, decay and death. Through the transfiguration of her emotional landscape by poetically depicting nature and body in parts, she ponders the complexities of individual identity in this rapidly changing globalized society. Nwe’s work has been exhibited internationally, including at the 9th Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, 2019 (Australia); Dhaka Art Summit, 2018 (Bangladesh); and the 4th Jakarta Contemporary Ceramic Biennale, National Gallery of Indonesia, Jakarta, 2016 (Indonesia). Nwe was named in 2019 Forbes 30 Under 30: Art & Style. Her work has been acquired by the Queensland Art Gallery and the Gallery of Modern Art in Brisbane, Australia.
สว่างวงศ์ ยองห้วย
เกิดที่รัฐฉาน เมื่อปี พ.ศ. 2514 พำนักและทำงานอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม
.
Sawangwongse Yawnghwe
Born in 1971, Shan State. Lives and works in Amsterdam.
.
สว่างวงศ์ ยองห้วย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2514 ในหมู่บ้านกลางป่าที่เรียกว่า ‘นาเหล็ก’ ชื่อที่บ่งบอกถึงพื้นที่แห้งแล้งกันดารในรัฐฉานของพม่า เขาสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ยองห้วยแห่งรัฐฉาน เจ้าส่วยแต้ก ปู่ของเขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491-2495) หลังจากที่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 เจ้าส่วยแต้ก เสียชีวิตในเรือนจำหลังจากกองทัพที่นำโดยนายพลเนวินทำการรัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2505 ส่งผลให้ครอบครัวของเขาถูกเนรเทศ เขาจึงต้องมาใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ที่เชียงใหม่ ก่อนที่ทั้งครอบครัวจะอพยพไปยังแคนาดา ปัจจุบันเขาพำนักและทำงานอยู่ที่เนเธอร์แลนด์
ผลงานของสว่างวงศ์ ยองห้วย วิพากษ์เรื่องเล่าทางศิลปะและทางประวัติศาสตร์ที่มีพม่าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการเสนอเรื่องราวส่วนตัวที่สวนทางกับประวัติศาสตร์ เช่น การสร้างพิพิธภัณฑ์สมมติ ประเด็นหลักในงานของเขามักเกี่ยวข้องกับการกดขี่ปราบปราม สิ่งที่หลงเหลืออยู่ภายใต้พื้นผิวหรือถูกซ่อนเร้น ปฏิภาณในการใช้วิธีการสืบสวนของเขานั้นช่วยสร้างความเข้าใจเชิงปรัชญาที่มีต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเรื่องเล่าของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวพม่าจะถูกถอดรื้อและลบทิ้งไป
.
Sawangwongse Yawnghwe was born in a jungle village called “Na Lek” (“iron field”, denoting an infertile, barren spot) in Burma’s Shan State in 1971.
.
He comes from the Yawnghwe royal family of the Shan. His grandfather, Sao Shwe Thaik, was the first president of the Union of Burma (1948–1952) after the country gained independence from Britain in 1948. Shwe Thaik died in prison following the 1962 military coup led by General Ne Win. Afterwards, Yawnghwe’s family was driven into exile. He spent his formative years in Chiangmai, after which his family fled to Canada. He now lives and works in the Netherlands.
.
Sawangwongse Yawnghwe’s works critique dominant Burma-centric artistic and historical narratives by presenting a personal, counter-historiography, such as the construction of a fictional museum. A recurring theme in his work is suppression – what remains under the surface or hidden. Yawnghwe’s acute use of investigative methodology is tempered by his philosophical approach to state-centric historiography in which narratives of non-Burman minorities are dismantled and erased.
ไมเคิล ลิน
เกิดที่โตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2507 พำนักและทำงานอยู่ที่ไทเป เซี่ยงไฮ้ และบรัสเซลส์
.
Michael Lin
Born in 1964, Tokyo. Lives and works in Taipei, Shanghai, and Brussels.
.
ไมเคิล ลิน เป็นศิลปินหลากหลายสาขา เป็นที่รู้จักจากงานศิลปะจัดวางขนาดใหญ่และลวดลายดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์ หลังจากได้รับการยอมรับในทศวรรษที่ 1990 สำหรับแนวทางการจัดนิทรรศการที่ให้ประสบการณ์พร้อมความสวยงาม ผลงานศิลปะของ ลิน มักรวบรวมความคิดเห็นทีเล่นทีจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยของการค้าและการทำให้เป็นสินค้า
.
องค์ประกอบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในผลงานของเขาคือรูปลักษณ์ซ้ำๆ ของลวดลายดอกไม้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบสิ่งทอของชาวไต้หวันในช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งลินเชื่อมโยงกับบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของประเทศ ลวดลายมักปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดลงบนพื้นผิวสถาปัตยกรรมโดยตรง หรือวาดบนวัสดุต่างๆ เช่น ไม้หรือโลหะ ความหลากหลายของลวดลายได้ห่อหุ้มการตกแต่งภายในของแกลเลอรี ส่วนหน้าของพิพิธภัณฑ์ (เช่น ด้านนอกของ Vancouver Art Gallery ในปี พ.ศ. 2553) และสิ่งของในชีวิตประจำวัน เช่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งท้าทายแนวคิดการวาดภาพแบบดั้งเดิมและการใช้งานของสิ่งของเหล่านี้ ในงานจัดวางของลินภาพวาดไม่ได้เป็นตัวรับการถูกจ้องมองจากผู้ชมแต่กลับเข้าครอบครองพื้นที่ของผู้ชม
.
ความรู้สึกโหยหาช่วงเวลาในอดีต ประวัติส่วนตัว และความทรงจำร่วมเป็นประเด็นหลักที่มักอยู่ในงานของลิน สำหรับนิทรรศการ What Difference a Day Made (พ.ศ. 2551) ที่ Shanghai Gallery of Art ลินได้สร้างร้านค้าท้องถิ่นในเซี่ยงไฮ้ขึ้นใหม่ภายในพื้นที่แกลเลอรี เขาจัดรายการวัตถุที่พบในร้านค้าจริงอย่างระมัดระวังและจัดแสดงไว้ในลังราวกับเป็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำค่า วัตถุธรรมดาสามัญประจำบ้านเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นพาหนะในการต้านอาการความจำเสื่อมเมื่อเผชิญกับการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วในเซี่ยงไฮ้
.
Michael Lin is a multi-disciplinary artist known for his large-scale installations and iconic floral motifs. Having gained recognition in the 1990s for his immersive approach to exhibitions, Lin’s artworks generally embody a tongue-in-cheek commentary on the contemporary cultures of commercialization and commodification.
.
The most recognizable element of his work is the recurring appearance of floral patterns, inspired by Taiwanese textile design from the 1960s, which Lin associates with the social and political atmosphere of the country. The patterns usually appear as murals painted directly onto architectural surfaces or painted on materials such as wood or metal. Variations of the pattern have enveloped gallery interiors, museum façades (such as the exterior of the Vancouver Art Gallery in 2010) and daily objects such as furniture and tableware, challenging traditional notions of painting and its function. In Lin’s installations, painting ceases to be a passive receiver of the viewer’s gaze and instead occupies the space of the viewer.
.
Recurrent themes of nostalgia, personal history and collective memory are embedded in Lin’s work. For the exhibition What Difference a Day Made (2008) at the Shanghai Gallery of Art, Lin reconstructed a local Shanghainese store inside the gallery space. He painstakingly catalogued the objects found in the actual store and displayed them in crates as if precious artefacts; these mundane domestic objects served as vehicles to counter amnesia in the face of rapid urbanization in Shanghai.
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2513 พำนักและทำงานอยู่ที่เชียงใหม่
.
Apichatpong Weerasethakul
Born in 1970, Bangkok. Lives and works in Chiang Mai.
.
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เติบโตที่จังหวัดขอนแก่น เขาศึกษาด้านสถาปัตยกรรมก่อนจบการศึกษาด้านภาพยนตร์ที่ School of the Art Institute of Chicago ในปี พ.ศ. 2540 เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้กํากับที่สร้างสรรค์ผลงานซึ่งมีความโดดเด่นเฉพาะตัวมากที่สุดคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์ร่วมสมัย โดยเขามักใช้ศิลปะภาพยนตร์ในการเล่าเรื่องแบบไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) และมักเกี่ยวเนื่องกับแสง เวลา ความฝัน ความทรงจําส่วนตัว และความทรงจําทางสังคม ลุงบุญมีระลึกชาติ (พ.ศ. 2553) คือผลงานสร้างชื่อเสียงที่ทําให้อภิชาติพงศ์ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง ทั้งยังได้รับรางวัลมากมายรวมถึงรางวัลปาล์มทองคําในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ นอกจากนี้ เขายังคว้ารางวัล Prix du Jury จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (พ.ศ. 2547) และรางวัล Un Certain Regard จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (พ.ศ. 2545) ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา Memoria ที่นําแสดงโดย ทิลด้า สวินตัน ได้รับรางวัล Prix du Jury อีกครั้งจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ปี พ.ศ. 2564
.
อภิชาติพงศ์ เคยร่วมแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะนานาชาติเบียนนาเล่มาแล้วมากมาย อาทิ Aichi Triennale (พ.ศ. 2565), Okayama Art Summit (พ.ศ. 2565), Sharjah Biennial (ได้รับรางวัล Sharjah Biennial Prize พ.ศ. 2556), Documenta 13 (พ.ศ. 2555) และ Singapore Biennale (พ.ศ. 2551) พิพิธภัณฑ์ศิลปะระดับโลก Tate Museum กรุงลอนดอน ได้จัดฉายผลงานภาพยนตร์ของเขาทุกเรื่อง (พ.ศ. 2559) เขาได้รับรางวัล Prince Claus ที่เนเธอร์แลนด์ในฐานะศิลปินที่ประสบความสําเร็จในการสร้างผลงานอย่างเยี่ยมยอด (พ.ศ. 2559) ในปี พ.ศ. 2562 อภิชาติพงศ์ได้รับรางวัล Artes Mundi ซึ่งเป็นรางวัลศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร
.
Apichatpong Weerasethakul grew up in Khon Kaen, in northeast Thailand. He studied architecture before graduating in film at the School of the Art Institute of Chicago in 1997. Recognized as one of the most original voices in contemporary cinema, his non-linear works often revolve around light, time, dreams, personal and social memories. His works have won him widespread international recognition and numerous awards, including the Cannes Palme d’Or for Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (2010), the Cannes Competition Jury Prize for Tropical Malady (2004), and the Cannes Un Certain Regard Prize for Blissfully Yours (2002). His latest film, Memoria, featuring Tilda Swinton, won the Cannes Competition Jury Prize at Cannes Film Festival, 2021.

Apichatpong has participated in numerous biennials, including Aichi Triennale (2022); Okayama Art Summit (2022); Sharjah Biennial (receiving the Sharjah Biennial Prize, 2013); Documenta 13 (2012); and Singapore Biennale (2008). He was the Principal Laureate of the 2016 Prince Claus Award, the Netherlands; the Tate Modern held a retrospective of his films the same year. In 2019, Apichatpong was awarded the Artes Mundi prize, the UK’s most prestigious prize for international contemporary art.
โทเบียส เรห์แบร์เกอร์
เกิดที่เอสลิงเงน เมื่อปี พ.ศ. 2509 พำนักและทำงานอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ต
.
Tobias Rehberger
Born in 1966, Esslingen. Lives and Works in Frankfurt.
.
โทเบียส เรห์แบร์เกอร์ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์งานเชิงสุนทรียะแบบข้ามแขนงอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา ซึ่งครอบคลุมทั้งภาพ วัตถุ งานจัดวาง และการทำงานร่วมกัน นอกจากการก้าวข้ามขอบเขตหรือลำดับชั้นแบบแบ่งขั้วซึ่งหมุนรอบพลวัตของประเภทและบทบาทที่หลากหลาย เช่น ประติมากรรม/งานจัดวาง/สถาปัตยกรรม วิจิตรศิลป์/การออกแบบ ศิลปะ/ชีวิตประจำวัน และสุนทรียะ/การใช้งาน เขายังสำรวจอาณาบริเวณที่ ‘อยู่ระหว่าง’ ท่ามกลางสาขาต่างๆ เหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ ในนิทรรศการเดี่ยวที่ Gallery Baton ในปี พ.ศ. 2563 เรห์แบร์เกอร์ เผยให้เห็นงานจัดวางขนาดใหญ่ของเขาซึ่งเข้าไปแทรกแซงอย่างรุนแรงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างภายในเดิมของแกลเลอรีอย่างเต็มที่ นิทรรศการประกอบด้วยพื้นที่สามส่วนที่มีรูปภาพ วัตถุ และงานจัดวาง กำแพงขนาดมหึมาทั้งห้าปกคลุมด้วยภาพตามเส้นทางเดินที่นิทรรศการแนะนำ บรรยากาศที่ซ้ำซากจำเจของภาพถ่ายธรรมดาของเขาสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับขนาดของภาพที่ถูกขยายใหญ่อย่างมากเกินไป วิธีการที่น่าตื่นตาและเป็นไปตามธรรมชาติของเรห์แบร์เกอร์ นี้ชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ทางสายตามีความหมายอย่างไรใน ‘ยุคแห่งภาพ’
.
โทเบียส เรห์แบร์เกอร์อาศัยและทำงานในแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และเป็นศาสตราจารย์ด้านวิจิตรศิลป์ที่ Frankfurt Städelschule ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกเหนือจากรางวัล Golden Lion ของ Venice Biennale ในปี พ.ศ. 2552 แล้ว เรห์แบร์เกอร์ยังแสดงนิทรรศการเดี่ยวในยุโรปและประเทศอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ที่ Stedelijk Museum, อัมสเตอร์ดัม (พ.ศ. 2551), ฟอนดาซิโอเน ปราด้า, มิลาน (พ.ศ. 2550), Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofía, มาดริด (พ.ศ. 2548), หอศิลป์ไวท์ชาเปล ลอนดอน (พ.ศ. 2547), Palais de Tokyo, ปารีส (พ.ศ. 2545) รวมถึงนิทรรศการล่าสุดที่ Rockbund Art Museum, เซี่ยงไฮ้ (พ.ศ. 2562) เขายังได้เข้าร่วมแสดงงานในสาธารณรัฐเกาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยปูซาน, ปูซาน (พ.ศ. 2561), ควังจู เบียนนาเล่, ควังจู (พ.ศ. 2555), Black Box Lounge ที่ Leeum, Samsung Museum of Art, โซล (พ.ศ. 2555) และ Art Sonje Center, โซล (พ.ศ. 2547)
.
Tobias Rehberger created his unique cross-disciplinary aesthetic with a broad range of images, objects, installations and collaborations. Crossing dichotomous boundaries or hierarchies which revolve around dynamics of diverse genres and roles such as sculpture/installation/architecture, fine art/design, art/daily life, and aesthetic/function, he also explores ‘in-between’ realms among those different fields. At a solo exhibition at Gallery Baton in 2020, Tobias Rehberger revealed a large-scale installation project which drastically intervened in and made full use of the gallery’s original inner structure. The exhibition consists of three spaces occupied by images, objects and installations. The five massive walls of the gallery were covered with images, along with the advised route of the exhibition. The monotonous ambience of his ordinary photographic images is in sharp contrast to the images’ excessively enlarged sizes – Rehberger’s spectacle and spontaneous approach reveal what visual experiences mean in ‘the Age of the Image’.
.
Tobias Rehberger lives and works in Frankfurt, Germany and has been a professor of Fine Arts at the Frankfurt Städelschule since 2001. Along with winning of the Venice Biennale’s Golden Lion Award in 2009, Rehberger has been involved in numerous European and international solo exhibitions such as those at Stedelijk Museum, Amsterdam (2008); Fondazione Prada, Milan (2007); Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofía, Madrid (2005); Whitechapel Gallery, London (2004); Palais de Tokyo, Paris (2002) as well as a recent exhibition at Rockbund Art Museum, Shanghai (2019). He was also introduced to South Korea at the Museum of Contemporary Art, Busan (2018); Gwangju Biennale, Gwangju (2012); Black Box Lounge at Leeum, Samsung Museum of Art, Seoul (2012); and Art Sonje Center, Seoul (2004).
จิตรา ซาสมิตา
เกิดที่บาหลี เมื่อปี พ.ศ. 2533 พำนักและทำงานอยู่ที่บาหลี
.
Citra Sasmita
Born in Bali, 1990. Lives and works in Bali.
.
จิตรา ซาสมิตา เป็นศิลปินร่วมสมัยจากบาหลี ผู้มีผลงานที่มุ่งคลี่คลายตำนานและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของบาหลี เธอยังตรวจสอบและตั้งคำถามเชิงลึกต่อสถานะและที่ทางของผู้หญิงในลำดับชั้นทางสังคม และพยายามที่จะยกระดับโครงสร้างเชิงบรรทัดฐานแห่งเพศสภาพ
.
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ซาสมิตาได้ทำงานชุดโครงการ Timur Merah ซึ่งสะท้อนถึงภาษาภาพวาดแบบดั้งเดิมของบาหลีบนผ้าใบกามาสัน (Kamasan) ที่เธอพัฒนาขึ้นในการทำงานศิลปะของเธอ โดยแสดงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรูปทรงเพศหญิง ไฟ และองค์ประกอบต่างๆ ทางธรรมชาติ ซึ่งประกอบกันขึ้นอย่างน่าประหลาดในการแสดงพลังดึงดูดที่ไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ แม้ว่าจะมีรากฐานมาจากความคิดเชิงตำนานที่มีการอ้างอิงเฉพาะแบบฮินดูและบาหลี ฉากต่างๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการร่วมสมัยในการจินตนาการถึงปกรณัมปรัมปราสำหรับอนาคตหลังยุคปิตาธิปไตย
.
ซาสมิตา มีผลงานจัดแสดงในระดับนานาชาติที่สถาบันศิลปะและงานเบียนนาเล่ต่างๆ อาทิ Kathmadu Triennale, กาฐมัณฑุ (พ.ศ. 2565), Biennale Jogja, ยอกยาการ์ตา (พ.ศ. 2562) และ Garden of Six Seasons, ParaSite, ฮ่องกง (พ.ศ. 2563) นิทรรศการเดี่ยวครั้งล่าสุดของเธอที่มีชื่อว่า Ode To The Sun (พ.ศ. 2563) จัดขึ้นที่ Yeo Workshop, สิงคโปร์ และในปี พ.ศ. 2560 เธอได้รับรางวัลเหรียญทองจาก UOB Painting of the Year
.
Citra Sasmita is a contemporary artist from Bali whose work focuses on unraveling the myths and misconceptions of Balinese art and culture. She is also deeply invested in questioning a woman’s place in the social hierarchy and seeks to upend the normative construct of gender.
.
Since 2019, Sasmita has been working on the Timur Merah Project series, which reflects the Kamasan Balinese painterly language that she has been developing in her practice. It represents a geography of female figures, fires, and various natural elements, composed whimsically in an unfolding of pansexual energy. While rooted in mythological thinking with Hindu and Balinese-specific references, the scenes are equally part of the contemporary process of imagining a secular and empowered mythology for a post-patriarchal future.

Sasmita has been exhibited internationally at various institutions and biennales including Kathmandu Triennale, Kathmandu (2022); Biennale Jogja, Yogyakarta (2019); and Garden of Six Seasons, ParaSite, Hong Kong (2020). Her most recent exhibition entitled Ode To The Sun (2020) was held at Yeo Workshop, Singapore. In 2017, she was a Gold Winner of the UOB Painting of the Year.

#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#กระทรวงวัฒนธรรม

#ContemporaryArt

#Rcacbkk#Rcac#Rcac84#84Rcac#Ratchadamnoencontemporartartcenter

#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย



ข่าวสารอื่นๆ

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031